วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา

วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา

วิธีการผลิตจำแนกได้ 2 วิธีใหญ่คือ ผลิตโดยไม่หนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ และผลิตโดยนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อซึ่งมีวิธีการดังนี้

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างง่ายโดยไม่ต้องนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาโดยไม่ต้องนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาโดยไม่ต้องนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ

วิธีนี้ได้แก่การใช้ปลายข้าว หรือข้าวสารมาเป็นวัสดุเลี้ยงเชื้อ เป็นวิธีที่ง่าย เหมาะสมสำหรับการทำเชื้อใช้เองในระดับครัวเรือน แต่ไม่เหมาะสมที่จะทำในปริมาณมากๆ วิธีการคือ

  1. หุงข้าว หรือปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ในอัตรา ข้าว 3 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน (สำหรับข้าวแข็ง) หรือ ข้าว 5 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วน (สำหรับเข้าใหม่ หรือข้าวอ่อน) ซึ่งเมื่อหุงออกมาแล้วจะได้ข้าว ในลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ
  2. เมื่อหม้อหุงข้าวดีดให้ตักใส่ถุงขณะที่ยังร้อน โดยใช้ถุงทนร้อนขนาดประมาณ 8-11 นิ้ว ใส่ถุงละประมาณ 250 กรัม (ประมาณ 3 ทัพพี) แล้วพับปากถุงทิ้งไว้ให้เย็น
  3. เมื่อข้าวเย็น (เหลือความอุ่นเล็กน้อย) นำมาใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา ถุงละ 2- 3  กรัม หรือประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด 1 เมล็ดต่อถุง แล้วเย็บปากถุงด้วยลวดเย็บกระดาษ หรือใช้ยางวงรัดปากถุงให้แน่น จากนั้นขยำหัวเชื้อคลุกกับข้าว แล้วใช้เข็มแทงทะลุ เพื่อให้อากาศระบาย 30-40 รู การใส่หัวเชื้อควรทำในที่ที่ไม่มีลมเช่นในห้องที่ปิดมิดชิด
  4. นำถุงข้าวที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในที่ร่มรอให้เชื้อเดิน การวางถุงให้วางราบกับพื้น และเกลี่ยข้าวให้แบนบางๆ พร้อมกับทำให้ถุงพองขึ้นด้านบนเพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ทั่วถุง ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุงก่อนนำไปใช้ได้

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยการนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาโดยนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาโดยนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ

ใช้วิธีการเตรียมวัสดุเช่นเดียวกับการผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย วิธีนี้เหมาะกับการผลิตในปริมาณมาก เช่น รวมกลุ่มช่วยกันผลิต หรือผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าวิธีแรก และเก็บรักษาได้นานกว่า มีขั้นตอนและวิธีการผลิตดังนี้

  1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเจริญเติบโตได้บนเมล็ดธัญพืชทุกชนิดเช่นเดียวกัน แต่ขนาดเมล็ดที่เหมาะสมที่จะทำให้ได้สปอร์มากคือ มีขนาดปานกลาง เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง หรือเมล็ดข้าวเปลือก โดยเมล็ดที่นำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวฟ่างหรือข้าวเปลือกสำหรับเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา ทำเหมือนกับการเตรียมเมล็ดข้าวโพด เพื่อเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือนำเมล็ดข้าวเปลือกหรือข้าวฟ่างมาล้างให้สะอาด
  2. ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่ไว้ 1 คืน หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที และนำมาผึ่งไว้ให้ผิวแห้ง
  3. นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด ถุงทนความร้อน ชนิดขยายขนาด ขนาดหก 6 1/2 – 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4-5 ขีด หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว สวมปากถุงด้วยคอขวดลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลีหรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษรัดด้วยยางวง
  4. นึ่งฆ่าเชื้อ เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้ว ให้นำไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที หรือกรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปลาถุงออก
  5. การเขี่ยเชื้อ การเขี่ยเชื้อไตรโคเดอร์มา ไม่จำเป็นต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อ แต่ควรทำในที่ที่มีลมสงบ และก่อนที่จะเขี่ยเชื้อ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่พื้นโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ 70% ที่มือและช้อนก็เช็ดแอลกอฮอด้วยเช่นเดียวกัน การเขี่ยเชื้อ ทำโดยใช้ช้อนตักหัวเชื้อใส่ลงในถุงข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วถุงละ 2 – 3 กรัม ปิดจุกสำลีไว้เหมือนเดิมและเขย่าถุงเล็กน้อย
  6. การบ่มเชื้อ นำถุงข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในที่ร่มอุณหภูมิปกติ ประมาณ 7 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ การเก็บรักษาหลังจากเชื้อเดินเต็มแล้ วควรเก็บไว้ที่แห้งและเย็นจะเก็บได้นานขึ้น

ข้อมูลจากหนังสือปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ฉบับชาวบ้าน

error: Content is protected !!