โรคและแมลงศัตรูพืชที่คนปลูกเมล่อนต้องระวังที่สุด!!!

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกๆท่าน ต้องบอกได้เลยว่า โรคเมล่อนนั้นมีค่อนข้างเยอะมากเลยครับ เช่น ต้นยางแตกไหล ราก่นาคอดิน โรคเหี่ยว โรคเชื้อราทางใบ และอื่นๆ ที่สำคัญและมีผลต่อการปลูกเมล่อนทั้งหมด ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

โรคและศัตรูเมล่อน

โรคและศัตรูเมล่อน

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ

เป็นโรคที่ทำความเสียหายมากครับ ลักษณะอาการของโรค คือ อาหารเหี่ยว เริ่มจากปลายผล ต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื้อจะยุบเข้าไปและเกิดเป็รเชื้อราตามมาครับ โรคนี้เกิดจากอะไรละ?  เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม และเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงด้วย ด้วยสาเหตุทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันมาก เพราะแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงคงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่นๆ

แล้วการป้องกันและกำจัดละทำยังไง? ควรใช้ปูนขาวลงในดินหรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % ที่สำคัญควรให้น้ำอย่างเสม่ำเสมอนะครับ

โรคเหี่ยวเฉา ที่เกิดจากแบคทีเรีย

แตงเมล่อนมีความทนทานต่อโรงนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย แต่ถ้ามีโรคนี้ระบาดแตงจะสียหายอย่างรวดเร็ว โดยที่อาการจะแสดงที่ใบก่อนจากนั้นก็จะลามไปทั่วต้น ทำให้พืชตายได้ การตรวจดูโรคนี้  จะใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามแนวขวาง จะมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนน้ำนม การป้องกันและกำจัด คือให้ถอนต้นนี้ไปกำจัด

โรคใบจุด ที่เกิดจากแบคทีเรีย

แตง แตงโม แคนตาลูป เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ลักษณะอาการของโรค อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำ เมื่อแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงไปในที่สุด ถ้าเป็นมาก ผลอาจจะร่วงได้ การป้องกันและกำจัด ควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อนประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก

โรคราน้ำค้าง

จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงทุกพันธุ์ ลักษณะอาการ  ใบมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยว ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวคล้ายผลแป้ง โรคนั้นระบาดอย่างรวเเร็ว เพราะเชื้อสามารถแพร่ได้ทางอากาศ การป้องกันและกำจัด  คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเอพรอน35 และใช้ยาริตโตมิล ฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

จัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียอีกโรคหนึ่งและเป็นโรคนี้ได้ง่าย ลักษณะอาการของโรค  ใบจะมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนของใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ๆ มีลักษณะเป็นวงขาวซึ่งจะขยายออกไปคลุมทั้งใบ ทำให้ใบกรอบแห้งเป็นสีน้ำตาล โดยที่เชื้อราจะแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่่าย การป้องกันและกำจัดคือ ฉีดพ่นยานี้ โดยใช้กำมะถันชนดละลายน้ำ 30-40 ต่อน้ำ 1 ปี๊ป

โรคแอนแทรกโนส

โรคนี้จะทำให้แตงมีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อน โรคนี้ทำให้เกิดจุดนูนเล็กๆ สีน้ำตาลประปรายทั่วไป เกิดบริเวณผิวแตง แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไป กลางแผลมีเชื้อราสีชมพูอ่อน วิธีป้องกันและกำจัดคือ ฉีดพ่นยาป้องกัน เช่น เบนเลท ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มระบาด

โรคใบแห้ง

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยม มีสีน้ำตาล แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากขึ้นใบก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย การป้องกันและกำจัดคือ ทำลายเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว ใช้ยาเบนเลท ในการป้แงกันกำจัด

โรคผลเน่า

ลักษณะอาการของโรค เมื่อกดบริเวณขั้วของผลที่เป็นโรคจะบุ๋ม เพราะเชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อน และทำให้เนื้อเยื่อที่ติดกับขั้ว จะเน่าอย่างรวดเร็ว ถ้าพบในผลอ่อนเชื้อราจะเข้าบริเวณปลายผล การป้องกันและกำจัดคือ ฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อรา

โรคผลเน่า

โรคผลเน่า

โรคยอดหงิกใบด่าง

เกิดจากศัตรูจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นตัวนำเชื้อ จัดว่าเป็นโรคที่ทำลายความเสียหายมาก อาจจะทำให้ไม่มีผลหรือออกผลเล็กผิดปกติ ลักษณะอาการของโรคใบจะมีสีเขียวและเหลืองด่างลายทั่วใบ ยอดตั้งชันและชะงักการเจริญเติบโต โรคนี้เกิดจาก ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เป็นพาหะนำโรค การป้องกันคือ ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน และถอนต้นที่แสดงอาการออกไปทำลาย

แมลงวันทอง

แมลงวันทอง

แมลงศัตรูพืช

ด้วง เต่าแตงแดง หนอน แมลงวันทอง แมลงกินใบ โดยที่มันจะกัดกินใบจนหมด และมันจะวางไข่ไว้ในดิน ตัวหนอนก็จะกินรากพืช การป้องกันและกำจัด จับทำลายด้วยมือ โดยหมั่นดูแลสวนในเวลาเช้า แดดยังไม่จัดแต่ถ้าหากระบาดอย่างรุนแรงให้ใช้ยาฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน พ่นเป็นครั้งคราว ไม่ควรใช้เกินอัตรา เพราะอาจจะทำให้ใบใหม้ได้

แมลงหวี่ขาว

แมลงหวี่ขาว

สุดท้ายที่ต้องระวังแต่ละช่วงวัยคือ

  • เริ่มการเพาะกล้า 1-13 วัน แสงแดด เต๋าแตง หนอนชอนใบจากแมลงวัน ต้องระวัง
  • หลังย้ายกล้า 15-30 วัน หนอนชอนใบ เต๋าแตง ศัตรูที่น่ากลัวที่สุดคือ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ
  • โรคพืชหลังปลูก 25-60 วัน ต้นแตกยางไหล หนอนชอนราก ราน้ำค้าง ราสนิม
  • โรคเหี่ยวเขียวทั้งใบและต้น แมลงวันทอง เชื้อราเข้าทำลายผล ช่วงอากาศแห้งจัด ก็จะมีไรแดงดูดกินสารสีเขียวใต้ใบ

 

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ ^^

coachnong

error: Content is protected !!