การตรวจสอบค่า PH ของพืชไฮโดรโปนิกส์

การตรวจสอบสารละลายธาตุอาหารหลังจากเตรียมแล้ว (ค่า pH)

การตรวจสอบค่า pH พืชจะเจริญเติบโตได้ดีนั้น จะต้องได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอ และเหมาะสมต่อความต้องการ และมีปรืมาณออกซิเจนในสารละลายอย่างเพียงพอ ในสารละลายธาตุอาหารพืช จำเป็นต้องมีการควบคุมค่า pH และ EC ของสารละลายเพื่อให้ผัสามารถดูดปุ๋ยหรือสารละลายธาตุอาหารพืชได้ดี ตลอดจนต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและออกซิเจนในสารละลายอาหารพืช

การวัดค่า pH พืชไฮโดรโปนิกส์

การวัดค่า pH พืชไฮโดรโปนิกส์

วิธีการวัดค่า pH

การรักษาหรือควบคุมค่า pH ของสารละลายธาตุอาหารพืช โดย pH = 7 หมายถึงมีความเป็นกลาง, pH ต่ำกว่า 7 หมายถึงสารละลายมีความเป็นกรด และ pH สูงกว่า 7 หมายถึงสารละลายมีความเป็นด่าง ต้องมีการควบคุม pH เนื่องจากจะมีผลให้ผักสามารถดูดใช้ปุ๋ยหรือสารอาหารได้ดี เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดเป็นด่างในสารละลายจะเป็นค่าที่บอกให้ทราบถึงสถานะของธาตุอาหารที่จะอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าค่า pH สูงหรือต่ำเกินไปธาตุอาหารพืชบางชนิดอาจจะอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจทำให้เกิดตะกอน

สาเหตุที่ทำให้ค่า pH เปลี่ยนแปลง

เนื่องจากการที่รากพืชดูดธาตุอาหารในสารละลายธาตุอาหารพืชแล้วปล่อยไฮโดรเจน และไฮดรอกไซด์ สู่สารละลายธาตุอาหารพืช ทำให้ค่า pH เปลี่ยนแปลงไป โดยทั่วไปควรรักษาค่า pH ของสารละลายให้มีค่า pH = 6

การปรับ เพิ่ม-ลด ค่า pH ในสารละลาย

การปรับเพิ่มค่า pH ในสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเป็นกรดมากเกิน สามารถปรับขึ้นได้โดยใช้ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, โซเดียมไฮดรอกไซด์, โซเดียมไบคาร์บอเต และแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ สารใดสารหนึ่งลงไปในสารละลายธาตุอาหารพืช

การปรับลดค่า pH ในกรณีที่สารละลายธาตุอาหารพืชมีความเป็นด่างมากเกินไป สามารถปรับขึ้นได้โดยโดยการเติมกรดซัลฟูริก, กรดไนตริก, กรดไฮโดรครอริก, กรดฟอสฟอริก และกรดซิติก สารใดสารหนึ่งลงไป

เครื่องมือที่ใช้วัดค่า pH ความเป็นกรดด่าง

  • pH meter ก่อนใช้ควรปรับเครื่องมือความเที่ยงก่อน โดนใช้น้ำยามาตรฐาน หรือที่เรียกว่า สารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน
pH meter

pH meter

 

  • Drop test เป็นสารละลายหยด เพื่อเทียบดูสีของสารละลาย นิยมใช้เนื่องจากถูก และหาง่าย
pH drop test

pH drop test

ข้อมูลจาก หนังสือ ไฮโดรโปนิกส์ ฉบับชาวบ้าน

error: Content is protected !!