การตรวจสอบค่า EC ในพืชไฮโดรโปนิกส์

การตรวจสอบค่า EC พืชไฮโดรโปนิกส์

การควบคุมค่า EC เพื่อให้มีปริมาณสารอาหารครบตามที่พืชต้องการ เป็นการควบคุมค่ารวมของการนำไปฟ้าของสารละลายธาตุอาหารทั้งหมดที่อยู่ในถัง ไม่ใช่ปริมาณที่แท้จริงของธาตุใดธาตุหนึ่ง ซึ่งธาตุที่ถูกใช้น้อยอาจตกตะกอนหรือก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนสารอาหารเป็นระยะๆ เช่น ทุก 2 – 3 สัปดาห์

ค่า EC พืชไฮโดรโปนิกส์

ค่า EC พืชไฮโดรโปนิกส์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า EC

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า EC มีหลายอย่างเช่น ชนิดของพืช ระยะการเติบโต ความเข้มของแสง และขนาดของถังที่บรรจุสารอาหารพืช สภาพพูมิอากาศก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า EC เนื่องจากเมื่อสภาพอากาศที่ร้อนจะทำให้พืชต้องการความเข้มข้นของสารละลายที่น้อยลง เนื่องจากพืชจะดูดน้ำมากกว่าธาตุอาหาร ในขณะที่ถ้าอากาศมีความชื้น พืชก็มีแนวโน้มที่จะดูดธาตุอาหารมากกว่าน้ำ ดังนั้นพืชจึงต้องการสารละลายที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

การควบคุม EC ของสารละลาย

การควบคุม EC ของสารละลายธาตุอาหารพืช โดยทั่วไปเมื่อพืชยังเล็กจะมีความต้องการ EC ที่ต่ำ และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อพืชมีความเจริญเติบโตที่มากขึ้น และพืชแต่ละชนิดมีความต้องการค่า EC ที่แตกต่างกัน

เครื่องมือวัดค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity meter) หรือ ค่า EC

ก่อนใช้ควรปรับความเที่ยงตรงเสียก่อน โดยปรับที่ปุ่มของเครื่องในสารละลายมาตรฐาน ซึ่งค่าที่วัดได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสารละลาย กล่าวคือยิ่งสารละลายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ค่า EC ก็จะสูงขึ้นตามด้วย ทั้งนี้ในการทดสอบว่าสารละลายที่เตรียมขึ้นมีปริมาณของเกลือตามความต้องการหรือไม่สามารถทำได้ดังนี้

  • วัดค่า EC ของน้ำที่เตรียมสารละลาย (EC1)
  • วัดค่า EC ของสารละลายที่เตรียมเสร็จแล้ว (EC2)
  • คุณค่าผลต่างของ EC ในข้อหนึ่งและสองด้วย 0.8 ถึง 0.9 ซึ่งจะได้ค่าความเข้มข้นของปุ๋ยและกรดที่ใส่ลงในสารละลาย ซึ่งค่าที่ได้นี้ต้องใกล้เคียงกับปริมาณจริงของปุ๋ยและกรดที่ใส่ลงในสารละลาย ถ้าต่างกันมากแสดงว่ามีข้อผิดพลาดต้องแก้ไข

EC2 – EC1 = EC3

EC3 x 0.8 ถึง 0.9  = q2

เครื่องวัด EC

เครื่องวัด EC

ข้อมูลจากหนังสือ ไฮโดรโปนิกส์ ฉบับชาวบ้าน

error: Content is protected !!