วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน

วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน

ปกติไส้เดือนดินจะผสมกันในช่วงกลางคืน โดยไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่กัน โดยใช้ด้านท้องแนบกัน และสลับหัวสลับหางกัน ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะแนบกับช่องสเปิร์มมาติกาของอีดตัวหนึ่ง โดยมีปุ่มสืบพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันเอาไว้ สเปิร์มจากช่องสืบพันธุ์เพศผู้ตัวหนึ่ง จะเก็บเข้าไปไว้ในถุงเสปิร์มของออีกตัวหนึ่ง ที่ละคู่จนครบทุกคู่ การจับคู่ใช้เวลาประมาณ 1 ชัวโมง จึงแยกออกจากกัน
ในขณะทีมีการจับคู่แลกเปลี่ยนสเปิร์มกัน ไส้เดือนดินทั้งสองตัว จะไม่ตอบสนองสิ่งเร้าจากภายนอกอย่างฉับพลัน

วงจรชีวิตไส้เดือนดิน

วงจรชีวิตไส้เดือนดิน

กรณีเช่น สิ่งเร้าจากการสัมผัสและแสง เมื่อไส้เดือนดินแยกจากกันประมาณ 2-3 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณไคลเทลลัมเพื่อสร้างถุงไข่ ต่อมเมือกจะสร้างคลุมบริเวณไคลเทลลัมและต่อมสร้างถุงไข่ จะสร้างเปลือกของถังไข่ ซึ่งเป็นสารไคติน สารนี้จะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ต่อมาต่อมสร้างไข่ดาว จะขับสารอัลบูมินออกมาอยู่ในเปลือกของถุงไข่ ซึ่งมีช่องสืบพันธุ์ของเพศเมียอยู่ที่ไคลเทลลัม จะปล่อยไข่เข้าไปอยู่ในถุงไข่

หลังจากนั้นถุงไข่ จะแยกตัวออกจากผนังของตัวไส้เดือนดิน เมื่อไส้เดือนหดตัวและเคลื่อนที่ถอยหลังถุงไข่จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อเคลื่อนที่ผ่านช่องเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม ก็จะรับสเปิร์มเข้าไปในถุงไข่ และมีการปฏิสนธิภายในถุงไข่ เมื่อถุงไข่หลุดออกจากตัวไส้เดือนดิน ปลายทั้งสองด้านของถุงไข่จะปิดสนิท เป็นถุงรูปไข่ มีสีเหลือง ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา 8-10 สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่งไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ บางชนิดมีมากถึง 60 ฟอง

ไข่ไส้เดือนดิน

ไข่ไส้เดือนดิน

ตัวอ่อนของไส้เดือนดินที่อยู่ในไข่ก็จะเจริญและพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ โดยใช้สารอาหารที่อยู่ภายในถุงไข่ ระหว่างที่ตัวอ่อนเจริญเติบโต ผนังของถุงไข่ก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย โดยถุงไข่ที่ออกจากตัวใหม่ๆ จะมีสีจางๆ และเมื่อผ่านไปจะมีสีเข้มากขึ้น และจะฟักตัวในเวลาต่อมา

สำหรับช่วงเวลาการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินเมื่อฟักออกจากถุงไข่แล้ว องค์ประกอบสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบอย่างมากต่อระยะเวลาเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ขึ้นอยู่กับการดำรงชีวิตของแต่ละสายพันธุ์ สำหรับประเทศไทยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงไส้เดือนดิน อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส ในฤดุฝนที่มีความชื่นสูง ไส้เดือนจะสร้างรังไข่ได้มากกว่าช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว เพราะฉะนั้นอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสามารถทำให้ชีวิตของไส้เดือนดินดำรงชีวิตได้ยาวนานขึ้น

error: Content is protected !!